วันพุธที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2553

ช้างเผือกงาดำ



ช้างเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองไทย มานาน ช้างเป็นสัตว์ใหญ่ สัตว์มงคลยิ่งช้างเผือกนี่ก็หายาก แต่หายากยิ่งกว่าคือช้างงาดำ บ้านเมืองไหนมีช้างงาดำ บ้านเมืองนั้นมีความอุดมสมบูรณ์
งาช้างดำ
งาช้างดำมีลักษณะเป็นงาปลียาว 97 เซนติเมตร วัดโดยรอบตรงส่วนใหญ่ที่สุด 47 เซนติเมตร โพรงตอนโคนลึก
14 เซนติเมตร สีออกน้ำตาลเข้มไม่ดำสนิท มีจารึกอักษรล้านนาภาษาไทยว่า กิ่งนี้หนักหนึ่งหมื่นห้าพัน หรือประมาณ 18 กิโลกรัม
สันนิษฐานว่าเป็นงาข้างซ้ายเพราะมีรอยเสียดสีกับงาชัดเจน ความเป็นมาของงาช้างดำนี้ไม่มีหลักฐานแน่ชัด มีเพียงตำนานเล่า
สืบต่อกันมา 2 เรื่อง
เรื่องที่ 1 กล่าวว่าในสมัยพระเจ้าสุมนเทวราช เจ้าผู้ครองนครเมืองน่าน (พ.ศ.2353-2368) มีพรานคนเมืองน่านได้เข้าป่า
ล่าสัตว์เข้าไปถึงเขตแดนระหว่างไทยกับเชียงตุงได้พบซากช้างตัวดำสนิทตายในห้วย พอดีกับพรานชาวเชียงตุงมาพบด้วยพราน
ทั้งสองจึงแบ่งงาช้างดำกันคนละข้าง ต่างคนก็นำมาถวายเจ้าเมือง ต่อมาเจ้าเมืองเชียงตุง ได้ส่งสารมาทูลเจ้าสุมนเทวราชว่า ตราบใด
งาช้างดำคู่นี้ไม้สูญหาย เมืองน่านกับเมืองเชียงตุงจะเป็นมิตรไมตรีกันตลอดไป
เรื่องที่ 2 กล่าวว่าเมืองน่านยกทัพไปล้อมเมืองเชียงตุงหลายเดือน ทำให้ชาวเมืองเชียงตุงเดือดร้อนโหรเมืองเชียงตุงทูล
เจ้าเมืองว่าเป็นเพราะมีงาช้างดำอยู่ด้วยกัน ทางที่ดีควรแยกออกจากกัน จึงนำงาช้างดำกิ่งหนึ่งมอบให้กองทัพเมืองน่านแล้วกระทำสัตย์สาบานเป็นมิตรกันตลอดกาล
ความสำคัญของงาช้างดำนี้เชื่อกันว่า พญาการเมือง เจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ 6 ราวพุทธศตวรรษที่ 20 ได้ทำพิธีสาปแช่ง
เอาไว้ว่า ให้งาช้างดำนี้เป็นของคู่บ้านคู่เมืองน่านตลอดไป ผู้ใดจะนำไปเป็นสมบัติส่วนตัวมิได้ ต้องไว้ที่หอคำหรือวังเจ้าผู้ครองนคร
เท่านั้น งาช้างดำเป็นวัตถุมงคลคู่บ้านคู่เมืองน่านและถือเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของจังหวัดน่าน เป็นวัตถุโบราณที่หายากและมีคุณค่า
ทางประวัติศาสตร์อย่างมาก
ประวัติความเป็นมาของงาช้างดำนี้ไม่มีผู้ใดทราบ หรือจดหมายเหตุไว้ ณ ที่ใด เพียงแต่เจ้าผู้ครองนครน่านทราบและรับมรดกตกทอดสืบต่อกันมา นัยว่า พญาการเมือง เจ้าผู้ครองนครองค์ที่ 5 เป็นผู้ได้มา จึงถือว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง จะตกไปเป็นเอกสิทธิ์ของเอกชนคนใดไม่ได้ และต้องถือว่า เป็นของคู่บ้านคู่เมืองน่านตลอดไป ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน
ตำนานพื้นบ้านภาคเหนือที่เล่าขานกันมา มีมากมายหลายเรื่อง ตำนานพระร่วง พระลือ ก็เป็นตำนานหนึ่งที่น่าสนใจ
เรื่องของพระร่วง เป็นที่รู้จักกล่าวขานในเรื่องที่เป็นตำนาน ทั้งที่บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และเล่าขานสืบต่อกันมา โดยคนไทยในภาคเหนือ ตั้งแต่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน และคนไทยในภาคกลางไปจนถึงจังหวัดนครศรีธรรมราช
พระร่วง เป็นเรื่องราวของคนไทย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการเป็นวีรบุรุษที่เลื่องลือแพร่ กระจายจนเป็นที่รับรู้ของคนไทยอย่างกว้างขวางที่สุด มากกว่าเรื่องวีรบุรุษใดในปรัมปราคติของไทยสมัยโบราณ มีเรื่องเชื่อกันว่า พระร่วงนั้นมีวาจาศักดิ์สิทธิ์ รอบรู้ศิลปวิทยา สามารถคิดวิธีนำถ่ายน้ำไปยังที่ไกลๆ ได้สะดวก เป็นผู้มีบุญญา
ธิการ รูปงาม กล้าหาญ สามารถนำเรือสำเภาไปค้าขายถึงเมืองจีน ได้ธิดาพระเจ้ากรุงจีนเป็นมเหสี และ นำช่างจีนมาทำเครื่องปั้นดินเผาเคลือบที่สุโขทัย ตามตำนานเล่าว่า พระร่วงเป็นพี่ พระลือ เป็นน้อง พระร่วงได้ครองเมืองศรีสัชนาลัย
มีช้างเผือกงาดำกับเขี้ยวงู เป็นของคู่บารมี ถึงคราวสิ้นบุญ ก่อนจะเสด็จลงอาบน้ำใน แก่งหลวง ปัจจุบัน แก่งหลวงอยู่ในบริเวณอุทยานประวัติ ศาสตร์ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย แล้วหายไป ได้ตรัสสั่งให้น้องครองราชสมบัติแทน อีกตำนาน หนี่งเล่าว่า พระร่วงเมืองสุโขทัย เมื่อปราบขอมดำดินที่สุโขทัยสำเร็จแล้วได้ครองกรุงสุโขทัยและเดินทางไปเมืองเชลียง เอาช้างเผือกงาดำมาแกะเป็นรูปพระร่วง
สำหรับพระพุทธรูปที่เรียกว่า “ พระร่วง พระลือ ” นั้นเดิมประดิษฐานอยู่ที่กุฎิพระร่วง พระลือ สร้างอยู่ตรงหน้าอุโบสถวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ แกะสลักด้วยงาช้าง ฉลองพระองค์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช และพระมหาธรรมราชา ลิไท ในปี พ.ศ. ๒๑๒๗ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงนำไปไว้ที่กรุงศรีอยุธยา และได้สูญหายไป ต่อมาชาวบ้านได้หล่อจำลอง ไว้ด้วยทองสัมฤทธิ์ ยืนตรงยกพระหัตถ์เสมอพระอุระทั้งสองข้าง เหมือนกันทั้งสองพระองค์ ทรงพระมาลา แบบที่เรียกกันว่า หมวกขีโบ ภายหลัง ได้นำไปเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ที่จังหวัดสุโขทัย
เอกสารอ้างอิง
วรารัตน์ . ตำนานพื้นบ้านภาคเหนือ. กรุงเทพฯ : บ้านหนังสือ ๑๙ , ๒๕๔๘ . หน้า ๑๘๘–๑๙๐

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น