วันศุกร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2553

ช้างไทย


เพิงไม้ท่ามกลางขุนเขาแห่งป่าภาคเหนือของประเทศไทยเป็นที่อาศัยของสองชีวิตที่มีหัวใจแข็งแกร่งและผูกพันกันอย่างแนบแน่น ฝ่ายหนึ่งคือแสงเดือน ชัยเลิศ หญิงร่างบางวัย 40 เศษ ผู้มีน้ำหนักเพียง 39 กิโลกรัม และอีกฝ่ายหนึ่งคือพังโจเกีย นางช้างวัย 42 ปี หนัก 3 ตัน ขณะที่แสงเดือนทำอาหาร โจเกียจะยืนอยู่ใต้ถุนบ้าน ยื่นงวงยาวเหมือนงูหลามตัวอ้วนเลื้อยพาดฟากไม้ไผ่เพื่อรอรับเศษผักหรือผลไม้ ก่อนหน้านี้ โจเกียเคยชักลากไม้เถื่อนและถูกบังคับให้ทำงานทั้งๆที่กำลังท้อง มันลากซุงหนักๆขึ้นเขาสูงชันจนแท้งลูก หลังจากนั้นโจเกียเริ่มมีอาการดื้อด้านจนควาญต้องใช้หนังสติ๊กหรือ “อาวุธรีโมต” ยิงเพื่อให้มันลุกขึ้นทำงาน วันหนึ่งควาญของโจเกียยิงพลาดจนทำให้ตาซ้ายของมันบอด สุมให้นางช้างเกรี้ยวกราดยิ่งขึ้น แต่เหมือนเคราะห์ซ้ำกรรมซัด เพราะเมื่อเจ้าของซึ่งออกโรงคุมช้างเชือกนี้ด้วยตนเองถูกงวงฟาดจนแขนหัก เขาก็แค้นใจยิงลูกดอกใส่ตาข้างดีที่เหลืออยู่ของโจเกีย ล่ามโซ่ตรวน และบังคับให้นางช้างลากไม้สักที่เพิ่งตัดโค่นทั้งที่ตามองไม่เห็น แสงเดือนเคยเข้าไปในปางไม้และเห็นโจเกียถูกตีเพราะเดินงุ่มง่ามไปชนต้นไม้ เมื่อทราบความเป็นมาของช้างพังเชือกนี้ เธอก็ตั้งใจจะหาเงินมาไถ่มันให้จงได้ แสงเดือนเป็นหลานปู่ของหมอยาสมุนไพร และเป็นเจ้าของบริษัทท่องเที่ยวในเชียงใหม่ แต่ด้วยนิสัยส่วนตัวที่ชอบดูแลสัตว์ตกทุกข์ได้ยาก ตอนนี้ที่บ้านของเธอจึงมีสุนัขจรจัดและพิการกว่า 30 ตัว ไม่นับที่เธอคอยให้อาหารอีกกว่า 200 ตัว
พังโจเกียเป็นช้างหนึ่งใน 17 เชือกที่แสงเดือนช่วยไว้ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ทั้งหมดใช้ชีวิตในพื้นที่ป่าสงวนซึ่งมีอาณาเขตราว 2,400 ไร่ อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปทางเหนือ 55 กิโลเมตร ที่ดินผืนนี้เป็นกรรมสิทธิ์ของเธอบางส่วน แต่บางส่วนก็เช่าจากรัฐบาล "พอลงมือทำแล้วก็หยุดไม่ได้ค่ะ" เธอเล่าขณะที่เราเดินอยู่กลางโขลงช้างทะมึนในศูนย์บริบาลช้าง อันเป็นผลงานชิ้นนี้ทำให้เธอติดอันดับต้นๆของนักสู้ผู้ต่อต้านการทารุณสัตว์
ถึงแม้ว่าช้างป่าทั่วโลกจะเผชิญชะตากรรมอันเลวร้ายไม่ต่างกันอันเป็นผลมาจากปัญหาพื้นที่ป่าที่ลดลง การลักลอบล่า และการปะทะกับเกษตรกร แต่สถานการณ์ของช้างในเอเชียกลับน่าเป็นห่วงกว่าในแอฟริกาหลายเท่า ปัจจุบันช้างเอเชียซึ่งเคยมีให้เห็นดาษดื่นจากแผ่นดินจีนจรดอิรักเหลือไม่ถึง 50,000 ตัว โดยในจำนวนนี้เป็นช้างบ้านเสีย 15,000 เชือก เชื่อกันว่าเมื่อ 100 ปีที่แล้ว เฉพาะแผ่นดินไทยมีช้างร่วม 100,000 ตัว ครึ่งหนึ่งถูกคล้องมาใช้งานในไร่นา ขนสินค้า หรือลากซุง เช่น ไม้สักหรือไม้เนื้อแข็งมีค่าอื่นๆจากป่า
แต่ทุกวันนี้ไทยมีช้างบ้านราว 3,000 เชือก และมีช้างป่าจำนวนเท่าๆกัน สำหรับคนไทย ช้างคือสัญลักษณ์อันคุ้นตาที่เห็นอยู่ทั่วไป ทั้งป้ายโฆษณา ฉลากเบียร์ ไปจนถึงเวียงวังอันวิจิตร ประวัติศาสตร์กล่าวถึงการทำสงครามยุทธหัตถีระหว่างกษัตริย์ไทยและพม่าเมือพุทธศักราช 2135 และเชิดชูบรรพชนที่ต่อสู้บนหลังช้างเพื่อรักษาเอกราชมาจนทุกวันนี้
อ่านเรื่องราวทั้งหมดอย่างจุใจได้จาก นิตยสารเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ฉบับภาษาไทย

วันอังคารที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2553

อาหารของช้าง

อาหารของช้าง
ช้างจะกินอาหารประมาณร้อยละ 10 ของน้ำหนักตัว/วัน หรือประมาณวันละ 200 - 400 กิโลกรัมต่อตัว
อาหารช้างแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ประกอบด้วย
1. อาหารจำพวกหญ้า (Grassese) ได้แก่ หญ้าแพรก หญ้ากล้อง หญ้าปากหวาย หญ้าคา หญ้ากก อ้อ พงเขม ฯลฯ
2. อาหารจำพวกไม้ไผ่ (Bamboos) ได้แก่ ไม้ไผ่หนาม ไผ่ป่า ไผ่บ้าน ไผ่หลาม ไม้รวก ไม้ซาง ฯลฯ
3. อาหารจำพวกเถาวัลย์ และไทร (Greepers and Flews) ได้แก่ บอระเพ็ด สัมป่อย เครือสะบ้า กระทงลาย ผัดแปปป่า หวาย สลอดน้ำ ไทร เครือเขาน้ำ เถาวัลย์แดง ฯลฯ
4. อาหารจำพวกไม้ยืนต้น (Trees Palms and Shrubs) ได้แก่ กล้วย ขนุน กุ่ม สัก งิ้วป่า ถ่อน มะพร้าว มะเดื่อ มะขามบ้าน มะเฟือง มะไฟ จามจุรี (ก้ามปูหรือฉำฉา) ปอเสา มะเดื่อปล้อง โพธิ์ มะยมป่า มะขาม มะตูม มะขวิด ระกำ ฯลฯ
5. อาหารจำพวกพืชไร่ (Cultivated Crops) ได้แก่ ข้าวโพด ข้าวฟ่าง เดือย สัปปะรด ต้นถั่วแระ อ้อย ฟัก แตง ฯลฯ
อาหารเลี้ยงช้าง โดยทั่วๆไป
อ้อย 100 ก.ก ต่อช้าง 1 เชือก
กล้วยสุก 20 หวี หรือ 20 ก.ก. ต่อช้าง 1 เชือก
สับปะรด 20 ลูก หรือ 20 ก.ก. ต่อช้าง 1 เชือก
แตงโม 20 ลูก หรือ 20 ก.ก. ต่อช้าง 1 เชือก
ต้นข้าวโพดสด 40 ก.ก ต่อช้าง 1 เชือก
แตงกวา 20 ก.ก. ต่อช้าง 1 เชือก
มันแกว 20 ก.ก. ต่อช้าง 1 เชือก



วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2553

ที่อยู่ของช้าง ปางช้าง


ปางช้างแม่สาจังหวัดเชียงใหม่

ปางช้างแม่สา ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองไม่มากนัก ใช้เวลาขับรถจากตัวเมืองมาถึงปางช้างภายในเวลาประมาณ 20 นาที โดยคุณสามารถสัมผัสได้กับธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ของสองข้างทางไปจนถึงปางช้างแม่สาจากประสบการณ์ที่มากกว่า 30 ปี และจำนวนช้างที่มีกว่า 70 เชือกที่อยู่ภายใต้การเลี้ยงดูอย่างดี เป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่าปางช้างกำลังก้าวขึ้นเป็นผู้นำและเชี่ยวชาญในด้านการดูแลช้าง การสืบพันธุ์ช้าง รวมทั้งการส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนหากมองย้อนกลับไปเมื่อช่วงหลายทศวรรษที่แล้ว เราคงจะคุ้นเคยกับภาพของการใช้ช้างในงานอุตสาหกรรมป่าไม้เป็นส่วนมากในเขตป่าของพื้นที่ภาคเหนือ แต่เนื่องด้วยการตระหนักถึงคุณค่าในความฉลาดและความสามารถที่มีมากของช้างแล้ว "คุณชูชาติ กัลมาพิจิตร" จึงได้ก่อตั้งปางช้างแม่สาขึ้นในพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์ที่อยู่ติดกับลำน้ำแม่สาในเขตหุบเขาแม่สาเมื่อปี พ.ศ. 2519 นับตั้งแต่นั้น คุณชูชาติได้ทำการซื้อช้างจากที่ต่างๆ มาเพื่อทำการฝึกและพัฒนาทักษะต่างๆโดยมีความมุ่งมั่นที่จะเผยแพร่ความสามารถของช้างเหล่านี้ให้แก่นักท่องเที่ยวผู้ที่หลงเสน่ห์ในความน่ารักของช้างและหวังว่านักท่องเที่ยวที่มาเยือนจะเกิดความรักและตระหนักในคุณค่าของช้างไทย ปางช้างแม่สาเป็นปางช้างแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับมาตรฐาน ISO 9001 version 2008 เนื่องจากมีความมุ่งมั่นที่จะนำเสนอปางช้างยุคใหม่ที่นักท่องเที่ยวสามารถสัมผัสได้ถึงการดูแลเอาใจใส่ที่ดีต่อช้างทุกเชือกและมีความมั่นใจว่าช้างทุกเชือกอยู่อย่างอิ่มท้องและมีความสุขด้วยการเลี้ยงดูอย่างดีและเชี่ยวชาญนี้ คุณสามารถมั่นใจได้ว่าช้างทุกเชือกที่อยู่ภายใต้การดูแลของเราจะมีสุขภาพกายและใจที่สมบูรณ์แข็งแรง

วันศุกร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2553

ช้างป่า


ช้างป่า

ช้างเป็นสัตว์บก ที่เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งมีขนาดใหญ่ ที่สุด และมีงา เฉพาะตัวผู้ หูค่อนข้าง เป็นรูปสามเหลี่ยม ช้างตัวเมีย ไม่มีงายาวอย่างตัวผู้ ชอบอาศัย อยู่ตามป่าดงดิบ ที่มีพืชและน้ำอุดมสมบูรณ์ ส่วนใหญ่ช้างออกหากินในเวลากลางคืน อาหารของช้างได้แก่พืชต่าง ๆ นอกจากพืชแล้ว ช้างยังต้องกินน้ำ และดินโป่ง

ช้างป่า จะอาศัยอยู่ในป่า ถ้าไม่มีผู้บุกรุกเข้าไปทำลายธรรมชาติ ช้างป่าก็จะอยู่อย่างสงบสุขในป่า โดยที่ไม่ต้องออกมาบุกรุกพื้นที่ชาวบ้าน ที่ช้างออกมาบุกรุกพืชไร่ชาวบ้าน เพราะมีมนุษย์ที่เห็นแก่ตัว เห็นแก่ประโยชน์ของตน ได้บุกรุกเข้าไปในธรรมชาติทำให้ช้างไม่มีที่อยู่อาศัย ช้างไม่มีพื้นที่ ที่อุดมสมบูรณ์ช้างจึงไม่มีอาหารทีกินเพียงพอทำให้ ช้างต้องบุกรุกออกมาจากในป่าเพื่อออกมาหาอาหารกิน

ช้างถือว่าเป็นสัตว์มงคล เป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์อยู่คู่กับมนุษย์มาแต่ยุคโบราณ เราจึงควรอนุรักษ์ช้างไว้เพื่อไม่ให้มันสูญพันธุ์ ไม่ควรล่าเพื่อนำงามาขายหรือเพียงนำมาเพื่อเป็นของประดับ ไม่ว่า ช้างป่าหรือช้างบ้าน เราก็ควรดูแลช้างให้ดีไม่ควรไปบุกรุกที่อยู่อาศัยของช้าง

วันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2553

ช้างในการ์ตูน


ในอดีตและปัจจุบันช้างได้มีบทบาทและได้เกี่ยวข้องมีความผูกพันธุ์กับมนุษย์มาก
ในอดีตช้างมีบทบาทในสงครามในการทหาร ช้างตอ้งเป็นพาหนะสำหรับการออกรบของพระเจ้าแผ่นดิน
พระเจ้าแผ่นดินองค์ใดทรงมีช้างอยู่ในแผ่นดินของตนเองมากนับว่าเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ยิ่งใหญ่ โดยเฉพาะช้างเผือกนับว่าเป็นช้างคู่บารมีของพระองค์เลยทีเดียว ถึงกับเคยมีสงครามเพื่อแย่งชิงช้างเผือกกันเลยทีเดียวในอดีต
ปัจจุบันช้างก็ยังมีบทบาทอยู่มากทั้งในภาพยนต์ ในวรรณคดี ในนวนิยาย ในนิยาย ในตำนาน ในการอนุรักษ์
และในการ์ตูน
ปัจจุบันมีการ์ตูนเกี่ยวกับช้างอยู่มาก โดยในการ์ตูนอนิเมชั่นของไทยก็มี ก้านก้ลวยภาค1 และภาค2
ในการ์ตูนเรื่องก้านกล้วยจะเป็นเรื่องราวของช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชหรือพระองค์ดำ เป็นเรื่องราวที่ก่อนจะมาเป็นช้างทรงจนถึงตอนทำสงครามยุทธหัตถี
ส่วนในภาคที่ 2 จะเป็นเรื่องราวการตามหาลูกของก้านกล้วย

ช้างในวรรณคดี


ช้างในวรรณคดีและวรรณกรรมไทย
ช้างเอราวัณ
เป็นช้างที่มีชื่ออยู่ในวรรณคดีบาลีกล่าวกันว่าเป็นช้างพาหนะของพระอินทร์ เรื่องราวของช้างเอราวัณที่ได้ พูดถึงกันนั้นจะเกี่ยวข้องกับประวัติของท้าวสักกะหรือพระอินทร์ผู้เป็นราชาแห่งเทพชั้นดาวดึงส์
ช้างไอราวัณ
เป็นช้างที่มีรูปร่างสูงใหญ่เหมือนภูเขา ผิวกายผ่องดูสดใส เป็นช้างที่มีพลังอำนาจมาก ช้างไอราวัณมีหน้าที่ เป็นช้างพาหนะของพระอินทร์ โดยมีหน้าที่หลายอย่างอาทิเช่น การนำพระอินทร์ออกรบ การทำฝน ช้างเอราวัณหรือไอราวัณนี้ปรากฏในวรรณคดีไทยหลายเรื่อง
ในวรรณคดี ‘ขุนช้าง ขุนแผน’ ได้บรรยายถึงช้างจากป่าที่ถูกมนุษย์จับมาผูกตรึงล่ามโซ่อยู่ในเมือง มีความตอนหนึ่งว่า
“งวงพาดงาเหงากับเสาตะลุง
ตาจะมุ่งมองอะไรเมื่อใจหมอง
น้ำตาซาบอาบหน้าอยู่เนืองนอง
ทั้งสองข้างมีงาไม่กล้าแทง”

วันพุธที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2553

ช้างเผือกงาดำ



ช้างเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองไทย มานาน ช้างเป็นสัตว์ใหญ่ สัตว์มงคลยิ่งช้างเผือกนี่ก็หายาก แต่หายากยิ่งกว่าคือช้างงาดำ บ้านเมืองไหนมีช้างงาดำ บ้านเมืองนั้นมีความอุดมสมบูรณ์
งาช้างดำ
งาช้างดำมีลักษณะเป็นงาปลียาว 97 เซนติเมตร วัดโดยรอบตรงส่วนใหญ่ที่สุด 47 เซนติเมตร โพรงตอนโคนลึก
14 เซนติเมตร สีออกน้ำตาลเข้มไม่ดำสนิท มีจารึกอักษรล้านนาภาษาไทยว่า กิ่งนี้หนักหนึ่งหมื่นห้าพัน หรือประมาณ 18 กิโลกรัม
สันนิษฐานว่าเป็นงาข้างซ้ายเพราะมีรอยเสียดสีกับงาชัดเจน ความเป็นมาของงาช้างดำนี้ไม่มีหลักฐานแน่ชัด มีเพียงตำนานเล่า
สืบต่อกันมา 2 เรื่อง
เรื่องที่ 1 กล่าวว่าในสมัยพระเจ้าสุมนเทวราช เจ้าผู้ครองนครเมืองน่าน (พ.ศ.2353-2368) มีพรานคนเมืองน่านได้เข้าป่า
ล่าสัตว์เข้าไปถึงเขตแดนระหว่างไทยกับเชียงตุงได้พบซากช้างตัวดำสนิทตายในห้วย พอดีกับพรานชาวเชียงตุงมาพบด้วยพราน
ทั้งสองจึงแบ่งงาช้างดำกันคนละข้าง ต่างคนก็นำมาถวายเจ้าเมือง ต่อมาเจ้าเมืองเชียงตุง ได้ส่งสารมาทูลเจ้าสุมนเทวราชว่า ตราบใด
งาช้างดำคู่นี้ไม้สูญหาย เมืองน่านกับเมืองเชียงตุงจะเป็นมิตรไมตรีกันตลอดไป
เรื่องที่ 2 กล่าวว่าเมืองน่านยกทัพไปล้อมเมืองเชียงตุงหลายเดือน ทำให้ชาวเมืองเชียงตุงเดือดร้อนโหรเมืองเชียงตุงทูล
เจ้าเมืองว่าเป็นเพราะมีงาช้างดำอยู่ด้วยกัน ทางที่ดีควรแยกออกจากกัน จึงนำงาช้างดำกิ่งหนึ่งมอบให้กองทัพเมืองน่านแล้วกระทำสัตย์สาบานเป็นมิตรกันตลอดกาล
ความสำคัญของงาช้างดำนี้เชื่อกันว่า พญาการเมือง เจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ 6 ราวพุทธศตวรรษที่ 20 ได้ทำพิธีสาปแช่ง
เอาไว้ว่า ให้งาช้างดำนี้เป็นของคู่บ้านคู่เมืองน่านตลอดไป ผู้ใดจะนำไปเป็นสมบัติส่วนตัวมิได้ ต้องไว้ที่หอคำหรือวังเจ้าผู้ครองนคร
เท่านั้น งาช้างดำเป็นวัตถุมงคลคู่บ้านคู่เมืองน่านและถือเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของจังหวัดน่าน เป็นวัตถุโบราณที่หายากและมีคุณค่า
ทางประวัติศาสตร์อย่างมาก
ประวัติความเป็นมาของงาช้างดำนี้ไม่มีผู้ใดทราบ หรือจดหมายเหตุไว้ ณ ที่ใด เพียงแต่เจ้าผู้ครองนครน่านทราบและรับมรดกตกทอดสืบต่อกันมา นัยว่า พญาการเมือง เจ้าผู้ครองนครองค์ที่ 5 เป็นผู้ได้มา จึงถือว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง จะตกไปเป็นเอกสิทธิ์ของเอกชนคนใดไม่ได้ และต้องถือว่า เป็นของคู่บ้านคู่เมืองน่านตลอดไป ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ น่าน
ตำนานพื้นบ้านภาคเหนือที่เล่าขานกันมา มีมากมายหลายเรื่อง ตำนานพระร่วง พระลือ ก็เป็นตำนานหนึ่งที่น่าสนใจ
เรื่องของพระร่วง เป็นที่รู้จักกล่าวขานในเรื่องที่เป็นตำนาน ทั้งที่บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และเล่าขานสืบต่อกันมา โดยคนไทยในภาคเหนือ ตั้งแต่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน และคนไทยในภาคกลางไปจนถึงจังหวัดนครศรีธรรมราช
พระร่วง เป็นเรื่องราวของคนไทย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการเป็นวีรบุรุษที่เลื่องลือแพร่ กระจายจนเป็นที่รับรู้ของคนไทยอย่างกว้างขวางที่สุด มากกว่าเรื่องวีรบุรุษใดในปรัมปราคติของไทยสมัยโบราณ มีเรื่องเชื่อกันว่า พระร่วงนั้นมีวาจาศักดิ์สิทธิ์ รอบรู้ศิลปวิทยา สามารถคิดวิธีนำถ่ายน้ำไปยังที่ไกลๆ ได้สะดวก เป็นผู้มีบุญญา
ธิการ รูปงาม กล้าหาญ สามารถนำเรือสำเภาไปค้าขายถึงเมืองจีน ได้ธิดาพระเจ้ากรุงจีนเป็นมเหสี และ นำช่างจีนมาทำเครื่องปั้นดินเผาเคลือบที่สุโขทัย ตามตำนานเล่าว่า พระร่วงเป็นพี่ พระลือ เป็นน้อง พระร่วงได้ครองเมืองศรีสัชนาลัย
มีช้างเผือกงาดำกับเขี้ยวงู เป็นของคู่บารมี ถึงคราวสิ้นบุญ ก่อนจะเสด็จลงอาบน้ำใน แก่งหลวง ปัจจุบัน แก่งหลวงอยู่ในบริเวณอุทยานประวัติ ศาสตร์ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย แล้วหายไป ได้ตรัสสั่งให้น้องครองราชสมบัติแทน อีกตำนาน หนี่งเล่าว่า พระร่วงเมืองสุโขทัย เมื่อปราบขอมดำดินที่สุโขทัยสำเร็จแล้วได้ครองกรุงสุโขทัยและเดินทางไปเมืองเชลียง เอาช้างเผือกงาดำมาแกะเป็นรูปพระร่วง
สำหรับพระพุทธรูปที่เรียกว่า “ พระร่วง พระลือ ” นั้นเดิมประดิษฐานอยู่ที่กุฎิพระร่วง พระลือ สร้างอยู่ตรงหน้าอุโบสถวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ แกะสลักด้วยงาช้าง ฉลองพระองค์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช และพระมหาธรรมราชา ลิไท ในปี พ.ศ. ๒๑๒๗ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงนำไปไว้ที่กรุงศรีอยุธยา และได้สูญหายไป ต่อมาชาวบ้านได้หล่อจำลอง ไว้ด้วยทองสัมฤทธิ์ ยืนตรงยกพระหัตถ์เสมอพระอุระทั้งสองข้าง เหมือนกันทั้งสองพระองค์ ทรงพระมาลา แบบที่เรียกกันว่า หมวกขีโบ ภายหลัง ได้นำไปเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ที่จังหวัดสุโขทัย
เอกสารอ้างอิง
วรารัตน์ . ตำนานพื้นบ้านภาคเหนือ. กรุงเทพฯ : บ้านหนังสือ ๑๙ , ๒๕๔๘ . หน้า ๑๘๘–๑๙๐